ในยุคที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งและมีความรวดเร็ว Internet Of Things (IoT) และ Software as a Service (SaaS) ได้กลายเป็นสองเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในแรูปแบบของการทำงานและดำเนินธุรกิจต่างๆมากมาย เนื่องจากการผสมผสานของระหว่างสองเทคโนโลยีเข้าด้วยกันนั้น เป็นการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ที่น่าสนใจและยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพในความต้องการของธุรกิจในอนาคต
จะเกิดอะไรขึ้นการทำงานร่วมกันของ SaaS และ IoT
- SaaS คืออะไร ?
- IoT คืออะไร ?
- การทำงานร่วมกันระหว่าง SaaS และ IoT
- ข้อดีของการทำงานร่วมกันระหว่าง SaaS และ IoT
- เปรียบเทียบการใช้งาน SaaS และ IoT ในธุรกิจ
- ความท้ายทายในการใช้งาน
SaaS คืออะไร ?
SaaS (Software as a Service) คือ การใช้ซอฟตแวร์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงและดูแลเซิร์ฟเวอร์เอง โดยไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง ซึ่งจะมีการคิดค่าบริการแบบสมัครสมาชิกเป็นรายเดือนหรือรายปี เช่นแหรือ Salesforce
IoT คืออะไร ?
IoT (Internet of Things) คือการเชื่อมอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ส่งผ่านข้อมูลและรับคำสั่งจากผู้ใช้งานหรือระบบอื่นๆได้ โดยอุปกรณ์เหล่านี้อาจเป็นอุปกรณ์ที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น นาฬิกาอัจฉริยะ , เครื่องใช้ไฟฟ้า , เซ็นเชอร์วัดอุณหภูมิ , กล้องวงจรปิด หรือสิ่งต่างๆที่ควบคุมจากระยะไกล ที่ตอบสนองต่อความต้องการขิงผู้บริโภค
การทำงานร่วมกันของ SaaS และ IoT
คือการใช้แพลตฟอร์มคลาวด์ในการจัดการข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์ IoT โดยทำให้ข้อมูลเหล่านั้นสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา ผ่านอินเทอร์เน็ต ระบบดังกล่าวจะทำหน้าที่ประมวลผลวิเคราะห์หาข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์ต่างๆ และสามารถส่งคำสั่งกลับไปยังอุปกรณ์เหล่านั้นเพื่อปรับเปลี่ยนเวลาการทำงาน ยกตัวอย่างเช่น ในระบบการจัดการโรงงานอัจฉริยะ อุปกรณ์ IoT ที่ใช้ เช่น เซ็นเซอร์ตรวจจับความร้อนเพื่อป้องกันอันตราย , ตรวจจับอุณหภูมิ , ความชื้น , หรือตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักร จะส่งข้อมูลและแสดงผ่านแดชบอร์ดที่ผู้ดูแลสามารถเข้าถึงได้นอกจากนี้ ระบบยังสามารถแจ้งเตือนผู้ใช้งานได้หากระบบมีปัญหาที่เกิดขึ้นกับเครื่องจักร หรือประสิทธิภาพของเครื่องจักรต่ำลงกว่ามาตราฐาน การสร้างระบบ SaaS และ IoT ไม่ใช่แค่ช่วยให้การควบคุมหรือดูแลสะดวกขึ้น แต่ยังช่วยเก็บข้อมูลที่มีประโยชน์ในระยะยาวสำหรับวิเคราะห์แนวโน้มการทำงาน สามารถนำไปใช้ในการวางแผนได้
ข้อดีของการทำงานร่วมกันระหว่าง SaaS และ IoT
ข้อดีของการรวม SaaS กับ IoT ให้ประโยชน์หลากหลายประการในการจัดการข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT ผ่านการใช้บริการคลาวด์ ซึ่งมีข้อดีหลายด้านดังนี้
1. การเข้าถึงข้อมูลจากทุกที่
รายละเอียด การใช้แพลตฟอร์ม SaaS ทำให้เก็บข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT และเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและสะดวก โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในสถานที่เดียวกันเพียงมีอินเทอร์เน็ตเป็นตัวเชื่อมต่อ
ประโยชน์ ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถติดตามสถานะของการทำงานต่างๆไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรือไกล ก็สามารถติดตามได้เลย
2. การประหยัดค่าใช้จ่าย
รายละเะอียด การใช้บริการ SaaS จะช่วยลดต้นทุนในด้านของการลงทุนใน เซิร์ฟเวอร์ หรือ ฮาร์ดแวร์ ที่ต้องการใช้ในการเก็บข้อมูลและประมวลผล โดย SaaS เป็นการให้บริการซอฟต์แวร์ผ่านคลาวด์ ซึ่งเจ้าของธุรกิจไม่จำเป็นต้องลงทุนในเรื่องของด้านโครงสร้าง ตรงนี้เลยจะทำให้ประหยัดต้นทุน ลดค่าใช้จ่ายได้ในจำนวนมหาศาล
ประโยชน์ ค่าใช้จ่ายในการเริ่มทำโครงการหรือธุรกิจจะลดลง ไม่ต้องลงทุนในการสร้างระบบ เนื่องจากให้ SaaS ช่วยดูแลในด้านนี้ เพราะผู้ใช้งานต้องจ่ายค่าสมาชิกตามระยะเวลาที่ใช้บริการ ตรงนี้จะช่วยลดต้นทุนในการลงทุนของเจ้าของธุรกิจได้ในจำนวนมากและได้เข้าถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้
3. การขยายตัวที่ง่าย
รายละเอียด เมื่อธุรกิจต้องการขยายและเพิ่มจำนวนอุปกรณ์ IoT การเพิ่มอุปกรณ์เข้ามาในระบบ SaaS สามารถทำงานได้ง่ายและรวดเร็วเพียงแค่ตั้งค่าใหม่ในระบบคลาวด์ เช่น การเพิ่มเซ็นเซอร์หรืออุปกรณ์อื่นๆ เพื่อติดตามข้อมูลเพิ่มเติม ไม่ต้องติดตั้งฮาร์ดแวร์ใหม่ หรือดำเนินการที่ซับซ้อน
ประโยชน์ ช่วยให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้ตามความต้องการอย่างรวดเร็วและมีความยืดหยุ่นในการขยายระบบ เพิ่มอุปกรณ์ หรือ ติดตั้งอุปกรณ์ใหม่ๆ โดยไม่ต้องวุ่นวายกับการจัดการฮาร์ดแวร์หรือการตั้งค่าเซิร์ฟเวอร์ใหม่ ตัวอย่างเช่น บริษัทที่ต้องการการติดตามการผลิตจากโรงงาน หลายแห่งสามารถขยายระบบโดยง่ายและรวดเร็วไม่ต้องเสียเวลา
4. การอัปเดตที่รวดเร็ว
รายละเอียด ซอฟต์แวร์ที่ให้บริการผ่าน SaaS จะได้รับรายการอัปเดตอย่างต่อเนื่องจากผู้ให้บริการ โดยที่ผู้ใช้บริการไม่ต้องดำเนินการอะไรเอง ซึ่งหมายความว่าเมื่อมีฟังก์ชันใหม่ๆ หรือการปรับปรุงความปลอดภัย (เช่น การอัปเดตอะไรใหม่ๆ) ซึ่งผู้ใช้งานจะได้รับประโยชน์จากการอัปเดต โดยทันที โดยไม่ต้องติดตั้ง หรือตรวจสอบอะไรให้ยุ่งยาก
ประโยชน์ การได้รับการอัปเดตโดยอัตโนมัติช่วยให้ระบบผู้ใช้งานทันสมัยอยู่เสมอ โดยเฉพาะด้าน ความปลอดภัย จะช่วยป้องกันปัญหาการโจมตีทางไซเบอร์หรือการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นความลับ และฟังก์ชันใหม่ๆ ที่อาจจะเพิ่มขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพในการทำงานและการบริหารจัดการระบบ IoT ได้มากขึ้น
เปรียบเทียบการใช้งาน SaaS และ IoT ในธุรกิจ
- การจัดการการผลิต (Manufacturing) ระบบที่ผสาน SaaS และ IoT จะช่วยให้การตรวจสอบเครื่องจักรในโรงงานทำได้ง่ายขึ้น ผ่านเซ็นเซอร์ที่ติดตั้งในเครื่องจักรแต่ละตัว ข้อมูลที่ได้สามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อทำนายการบำรุงรักษา (Predictive Maintenance) ลดเวลาในการหยุดเครื่องจักรและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
- การดูแลสุขภาพ (Healthcare) การเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT เช่น เครื่องวัดความดัน, เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ, หรือเครื่องมือตรวจสอบอุณหภูมิ ผ่านระบบ SaaS ทำให้สามารถติดตามข้อมูลของผู้ป่วยในเวลาจริงจากระยะไกล โดยแพทย์สามารถตรวจสอบและให้คำแนะนำได้ทันที
- การจัดการพลังงาน (Energy Management) ระบบที่รองรับ IoT และ SaaS สามารถช่วยในการตรวจสอบการใช้พลังงานในอาคารหรือโรงงาน ซึ่งจะช่วยลดการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็นและปรับปรุงการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ความท้ายทายในการใช้งาน SaaS และ IoT ในธุรกิจ
1. ความปลอดภัย การเชื่อมต่อข้อมูลจำนวนมากจากอุปกรณ์ IoT ผ่านระบบคลาวด์อาจเสี่ยงต่อการถูกโจมตีจากแฮกเกอร์ ดังนั้น ความปลอดภัยของระบบจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนา
2. การจัดการข้อมูล ข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์ IoT อาจมีปริมาณมากและซับซ้อน ซึ่งจำเป็นต้องมีระบบในการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ
3. การพัฒนาและบำรุงรักษา การสร้างระบบ SaaS ที่รองรับ IoT จำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบที่สามารถรองรับอุปกรณ์หลายประเภท และสามารถรองรับการอัปเดตระบบได้ในระยะยาว
การสร้างระบบ SaaS ที่รองรับ IoT เป็นการพัฒนาที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจในยุคดิจิทัล โดยทั้งสองเทคโนโลยีนี้สามารถช่วยให้ธุรกิจสามารถบริหารจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและยืดหยุ่นมากขึ้น การรวมกันของ SaaS และ IoT ไม่เพียงแค่ช่วยให้การควบคุมและการประมวลผลข้อมูลเป็นไปอย่างสะดวก แต่ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและสร้างโอกาสในการพัฒนาใหม่ๆ ที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจได้
บทความอื่นๆที่น่าสนใจเพิ่มเติม :
แนวโน้มและทิศทางการพัฒนาซอฟต์แวร์ในปี 2024 ที่ Software House ควรรู้
ซอฟต์แวร์สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก: เพิ่มประสิทธิภาพด้วยงบที่คุ้มค่า
ทำไมธุรกิจยุคใหม่ต้องการซอฟต์แวร์เฉพาะทาง
อนาคตของ Work-Life Balance : เทรนด์และแนวโน้มใหม่ของการทำงานวงการ Software